YENGO

โรคกรดไหลย้อน

Last updated: 22 พ.ย. 2560  |  2502 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคกรดไหลย้อนคืออะไร

       หลายคนคงจะเคยมีอาการปวดแสบปวดร้อนกลางอก หรือ ปวดแสบตรงลิ้นปี่หรือยอดอก ยิ่งเวลาหลังทานมื้อหนักอาการจะเป็นมากขึ้น มีอาการแม้เวลานอน หรือ นั่ง บางคนตื่นนอนขึ้นมามีอาการขมคอ เปรี้ยวปาก เสียงแหบ เจ็บคอ แสบลิ้น หรือ บางคนอาจมีอาการขย้อนอาหารอยู่บ่อยๆ หรือ เรอออกมาเป็นน้ำย่อยรสเปรี้ยว เป็นต้น

 

 



       อาการดังกล่าว คือ อาการของโรคกรดไหลย้อน หรือ โรคน้ำย่อยไหลกลับ หรือ โรคเกิร์ด (Gastroesophageal reflux disease – GERD)  นั่นเอง ซึ่งโรคกรดไหลย้อนนี้  เป็นโรคที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหารซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหารและลำคอ ซึ่งน้ำย่อยนี้จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองเยื่อบุหลอดอาหารจึงมีอาการปวดแสบปวดร้อน นั่นเอง

สาเหตุ
     โรคกรดไหลย้อนเกิดจากการหย่อนของหูรูดส่วนล่างของหลอดอาหาร (Lower esophagel sphincter - LES) ทำให้หูรูดหลอดอาหารส่วนนี้ ปิดไม่สนิท เวลาที่เรารับประทานอาหาร หรือกระเพาะอาหารหลั่งกรด น้ำย่อยเหล่านี้จะไหลย้อนเข้าสู่หลอดอาหาร ไประคายเคืองเยื่อบุหลอดอาหาร ทำให้เรารู้สึกไม่สบายและเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆตามมา เช่น หลอดอาหารอักเสบ หลอดอาหารเป็นแผล น้ำย่อยซึมเข้าหลอดลมจนหลอดลมอักเสบ รวมถึงกระตุ้นการเกิดโรคมะเร็งของหลอดอาหารได้ ซึ่งสาเหตุหลักๆ มีดังนี้

  • หลอดอาหารเสื่อมสภาพตามอายุ
  • หูรูดหลอดอาหารยังไม่เจริญเต็มที่ เช่น เด็กจะขย้อนนม หรือ มีความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด
  • มีปริมาณกรดค้างอยู่ในหลอดอาหารนานกว่าปกติ จากความผิดปกติในการหลั่งกรด หรือ หลอดอาหารบีบตัวผิดปกติ
  • แรงดันในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น ทำให้หูรูดหลอดอาหารปิดไม่สนิท เช่น การตั้งครรภ์ โรคอ้วน การกินอาหารมากเกินไป กินอาหารเสร็จแล้วรีบนอนเลย หรือกินอาหารที่ย่อยยากและค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนาน เช่น อาหารมัน เป็นต้น
  • ปัจจัยอื่นๆ เช่น กระเพาะอาหารขยายตัว หรือมีการหลั่งกรดมากเกินผิดปกติ

 

วิธีรักษา
       การรักษาโรคกรดไหลย้อน  คือ การรับประทานยา หรือสมุนไพรช่วยลดกรด การรับประทานยา ส่วนใหญ่ในระยะแรกๆ แพทย์จะสั่งยาลดกรด (Antacids) และยาลดการสร้างกรดกลุ่มเอชทู (H2 antagonist) ซึ่งต้องต้องทานควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม นอกจากนี้ยังสามารถรักษาโรคด้วยการใช้สมุนไพร ซึ่งในปัจจุบันบ้านเรามีสมุนไพรมากมาย ที่ช่วยรักษาโรคกรดไหลย้อน เช่น กระเพรา กระเจี้ยบเขียว ขึ้นช่าย ลูกยอ ย่านาง และขมิ้นชันเป็นต้น
      หากรักษาด้วยยา ร่วมกับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว มีอาการผิดปกติคือ อาเจียนเป็นเลือด ไอมากผิดปกติ เจ็บคอมาก เจ็บหน้าอกรุนแรง อาเจียนอาหารออกมามาก ปวดท้องรุนแรงหรืออุจจาระดำ(เหมือนยางมะตอย) มีอาการซีด อ่อนเพลียให้รับไปโรงพยาบาลพบแพทย์ทันที

ขมิ้นชัน กรีนเคอมิน ช่วยรักษา โรคกระเพาะ โรคกระเพาะอักเสบ และโรคกรดไหลย้อน

      ขมิ้นชัน นอกจากจะมีคุณค่าทางอาหารแล้ว ยังมีคุณค่าทางยาโดยทุกส่วนของขมิ้นชันสามารถนำมาทำยาได้หมด เช่น เหง้า ผงขมิ้น หรือ ขมิ้นสด การรักษาโรคกระเพาะและโรคกรดไหลย้อนด้วยขมิ้นชันนั้นมีมานานและได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลก และ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา
      ผลิตภัณฑ์จากขมิ้นชัน กรีนเคอมิน (Green curmin) เหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะกรดไหลย้อน ผู้ที่มีอาการโรคกระเพาะอาหาร และปัญหาโรคกระเพาะอาหาร รวมทั้งโรคกระเพาะอาหาร อักเสบเรื้อรัง ลดการท้องอืด อาหารไม่ย่อย ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาอาการทุกข์ทรมารจากโรคกรดไหลย้อนและปลอดภัยต่อสุขภาพ

 

 

การป้องกันโรคกรดไหลย้อน
      การป้องกันการกำเริบของโรคกรดไหลย้อน มีแนวทางหลักๆ คือ  พยายามหลีกเลี่ยงสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยง (ที่หลีกเลี่ยงได้) ร่วมกับการปรับพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้อาการของโรคกำเริบ  เช่น

  • พฤติกรรมการกิน ต้องสังเกตว่าถ้าเรากินอาหารชนิดใดแล้วมีอาการโรคกรดไหลย้อน ต้องหลีกเลี่ยงอาหารนั้นๆ เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว ซอส เครื่องเทศ เป็นต้น และ หลีกเลี่ยงการกินอาหารมัน รสจัด เผ็ด หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ น้ำอัดลม
  • คนที่มีอาการหลังกินอาหาร ต้องหลีกเลี่ยงการกินอาหารปริมาณมากๆ ดื่มน้ำเยอะๆ ระหว่างกิน(เพื่อเจือจางน้ำย่อย) กินอาหารปริมาณน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง เคี้ยวนานๆ  และหลังรับประทานอาหารต้องไม่เข้านอนทันที มื้อสุดท้ายก่อนนอนต้องห่างกับเวลาเข้านอนอย่างน้อย 3 ชม.
  • หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าคับแน่น  พยายามควบคุมน้ำหนักให้ปกติ  หลีกเลี่ยงความเครียด และหมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • ถ้ามีอาการตอนนอน ต้องนอนยกศรีษะให้สูง 6-10 นิ้ว เป็นต้น
โรคกรดไหลย้อน ไม่ได้รักษายากอย่างที่คิด ขอเพียงเราเข้าใจสาเหตุและแนวทางการป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้อาการกำเริบ ก็จะช่วยให้เราสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ และมีความสุข และที่สำคัญคือ รู้จักเลือกเมนูอาหารที่มีสมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการและรักษาโรค ก็จะเป็นทางเลือกง่ายๆในการดูแลตัวเองอย่างมีความสุขต่อไป

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้