YENGO

โรคกระดูกพรุน

Last updated: 22 พ.ย. 2560  |  1870 จำนวนผู้เข้าชม  | 

      โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) และโรคกระดูกบาง (Osteopenia) คือ โรคกระดูกชนิดหนึ่งที่กระดูกเริ่มเสื่อมและบางลงเนื่องจากการสูญเสียแคลเซียมที่สะสมในกระดูก ทำให้ความหนาแน่นและมวลของกระดูกลดน้อยลง  ส่งผลให้กระดูกเสื่อม เปราะ บาง ผิดรูปและแตกหักได้ง่าย บางรายทำให้ส่วนสูงลดลงเพราะกระดูกผุกร่อน กระดูกจะไม่สามารถทำงานหรือเคลื่อนไหวได้ตามปกติ เช่น การทนรับน้ำหนัก แรงกระแทก หรือแรงกดได้น้อยลง เนื่องจากความเจ็บปวดจากรอยแตกร้าวภายใน ไปจนถึงการแตกหักของกระดูกส่วนสำคัญ ซึ่งอาจส่งผลทำให้พิการได้

ปัญหาที่เกิดจากโรคกระดูกพรุน

      เมื่อเป็นโรคกระดูกพรุน กระดูกจะบาง หรือเสื่อมสภาพ ทำให้ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ไม่สามารถทนรับแรงกดดันหรือน้ำหนักได้  กระดูกแตกหักได้ง่ายแม้ถูกกระทบกระเทือน หรือ ถูกกระแทกไม่รุนแรง ซึ่งหากกระดูกแตกหรือหักแล้วไปทำลายเนื้อเยื่อของอวัยวะรอบๆ กระดูกก็อาจส่งผลให้เกิดอันตรายและภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย เช่น  กระดูกสันหลังซึ่งเป็นศูนย์กลางเส้นประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวเสื่อม บาง แตกร้าว หรือหัก จากภาวะกระดูกพรุนจะทำให้ผู้ป่วยพิการหรือเสียชีวิตได้ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของกระดูกและเส้นประสาทที่ได้รับอันตราย เป็นต้น

      นอกจากนี้ โรคกระดูกพรุนยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะกระดูกหักหรือกระดูกสันหลังผิดรูปในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะสตรีสูงอายุ เนื่องจากเป็นวัยที่เขาสู่วัยหมดประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen hormone)จะลดลง ทำให้กระดูกสลายตัวได้ง่ายขึ้น เป็นต้น

สาเหตุของโรคกระดูกพรุน

      กระดูกประกอบไปด้วย โปรตีน คอลลาเจน และแคลเซียมในกระดูกประกอบด้วยโปรตีนหนึ่งในสามส่วน อีกสองในสามส่วนเป็นเกลือแร่ โปรตีนที่เป็นเนื้อกระดูกนี้ส่วนใหญ่เป็นคอลลาเจน ส่วนเกลือแร่ที่อยู่ในกระดูกคือแคลเซียม โดยมีเกลือแคลเซียมฟอสเฟตเป็นตัวทำให้กระดูกแข็งแรงและทนต่อแรงดึงรั้ง ดังนั้นการขาดแคลเซียมจึงเป็นสาเหตุทำให้กระดูกบาง ไม่หนาแน่น กระดูกจึงแตกหักได้ง่ายแม้จะถูกกระทบกระเทือนเพียงเล็กน้อยก็ตาม

      กระดูกเป็นอวัยวะที่ไม่ได้อยู่นิ่ง แต่จะมีการสร้างและการสลายตัวอยู่ตลอดเวลาอย่างสมดุล โดยมีเซลล์ออสติโอบลาสต์ (Osteoblast) ทำหน้าที่พาเอาแร่ธาตุเข้ามา และมีเซลล์ออสติโอคลาสต์ (Osteoclast) ทำหน้าที่สลายเนื้อกระดูก กล่าวคือ ในขณะที่มีการสร้างกระดูกใหม่โดยใช้แคลเซียมจากอาหารที่รับประทานเข้าไป ก็จะมีการสลายแคลเซียมในเนื้อกระดูกเก่าออกมาสู่เลือดและถูกขับออกมาทางปัสสาวะและอุจจาระวันละประมาณ 600-700 มิลลิกรัม เพื่อให้เกิดความสมดุลเราจึงต้องได้รับแคลเซียมให้เพียงพอกับที่เสียไป มิฉะนั้นร่างกายจะดึงแคลเซียมจากกระดูกมาใช้ตลอดเวลา มีผลทำให้กระดูกถูกทำลายมากกว่าการสร้าง เนื้อกระดูกจึงบางลงในที่สุด

      นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้กระดูกบาง เช่น  ฮอร์โมนเพศ การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนจากภาวะหมดประจำเดือนในผู้หญิง ทำให้เกิดอัตราเร่งของการสลายตัวของกระดูก รวมทั้งเกิดจากความเสื่อมตามอายุที่มีการสะสมอย่างค่อยเป็นค่อยไปและยาวนานของการเสียสมดุลระหว่างการสร้างและการสลายของกระดูกในผู้สูงอายุ และความผิดปกติของระบบอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบมาที่กระดูก เช่น ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน, ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานเกิน, ต่อมหมวกไตทำงานน้อยผิดปกติ, โรคเนื้องอกของต่อมใต้สมอง, โรคเบาหวาน, โรคคุชชิง, มะเร็ง

ทำไมกระดูกจึงพรุน

      กระดูก ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างหลักของร่างกาย เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อ รวมทั้งปกป้องอวัยวะที่สำคัญ นอกจากนี้กระดูกยังเป็นที่สะสมแคลเซียมที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ซึ่งโดยปกติร่างกายได้รับแคลเซียมจากการรับประทานอาหาร แล้วนำไปเก็บสะสมที่กระดูก เมื่อร่างกายต้องการใช้แคลเซียมก็จะมีการดึงแคลเซียมออกจากกระดูก ซึ่งกลไกเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์กับกระบวนการทำงานของเซลล์สร้างกระดูกที่เรียกว่า “ออสติโอบลาส”(Osteoblast) และเซลล์ทำลายกระดูก ที่เรียกว่า “ออสติโอคลาส”( Osteoclast) ซึ่งเซลล์ทั้ง 2 ชนิดจะต้องทำงานร่วมกันอย่างสมดุล

      เมื่ออายุมากขึ้น เซลล์สร้างกระดูกจะทำงานได้น้อยลงในขณะที่เซลล์สลายกระดูกทำงานได้ตามปกติ กระดูกมีการถูกทำลายมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีสาเหตุต่างๆที่ทำให้เกิดภาวะเสียสมดุลย์ระหว่างเซลล์สร้างกระดูกและเซลล์ทำลายกระดูก ดังนี้

  • การขาดอาหารสำคัญของการสร้างกระดูกคือ โปรตีน แคลเซียม และวิตามิน ดี ซึ่งผู้สูงอายุมักขาดอาหารทั้งสามชนิดนี้ การขาดอาหารจะลดการสร้างมวลกระดูกและกระตุ้นให้เซลล์ทำลายกระดูกทำงานสูงขึ้น
  • การออกกำลังกายจะกระตุ้นการทำงานของเซลล์สร้างกระดูกและลดการทำงานของเซลล์ทำลายกระดูก ตรงกันข้าม เมื่อขาดการออกกำลังกาย เซลล์ทำลายกระดูกจะทำงานเพิ่มขึ้น
  • การขาดฮอร์โมนเพศซึ่งเป็นฮอร์โมนช่วยการทำงานของเซลล์สร้างกระดูก ดังนั้น โรคกระดูกพรุนจึงพบได้บ่อยในผู้หญิงและโดยเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนถาวร
  • สาเหตุทางพันธุกรรมและโรคต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการสร้างฮอร์โมนผิดปกติ เช่น โรคต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน(ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ) หรือโรคเนื้องอกของต่อมใต้สมอง เป็นต้น

อาการของโรคกระดูกพรุน

      เมื่อเป็นโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis ) มวลกระดูกของร่างกายจะลดลงต่ำกว่าค่ามวลกระดูกมาตรฐานตั้งแต่ -2.5 เอสดีขึ้นไป (SD – Standard deviation คือ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) หรือในทางการแพทย์จะใช้เขียนเป็นตัวเลขตั้งแต่ -2.5 เอสดีขึ้นไป อาการของภาวะกระดูกพรุนจะยังไม่แสดงเด่นชัด จนกระทั่ง กระดูกจะเริ่มบางมากจนมีอาการแตกหักของกระดูกแล้วก็จะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดหรือความผิดปกติของโครงสร้างกระดูก เช่น ปวดข้อมือ สะโพก หรือหลัง เนื่องจากกระดูกแตกหรือหัก

      ผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนจะมีความเสี่ยงต่อการมีกระดูกหักได้ง่ายแม้จะเกิดจากอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรงหรือมีแรงกระแทกต่ำ เช่น กระดูกหักจากการเปลี่ยนท่า, กระดูกหักขณะก้มหยิบของหรือยกของหนัก, กระดูกซี่โครงหักเพียงแค่ไอหรือจามแรงๆ เป็นต้น

โรคกระดูกพรุนป้องกันได้ด้วยแคลเซียม Happy Cal

      แคลเซี่ยมมีความสำคัญและจำเป็นต่อร่างกายสูงมาก โดยที่ร่างกายของคนเรา มีแคลเซียมร้อยละ 90 อยู่ในกระดูก แคลเซียมที่เหลือประมาณร้อยละ 10 จะอยู่ในเซลล์และเลือด โดยหน้าที่ของแคลเซียม คือ

  • สร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกและฟัน 
  • ช่วยในการบีบตัวของกล้ามเนื้อ
  • ช่วย enzyme ในการทำงาน  ทำให้เลือดแข็งตัว
  • ช่วยให้หัวใจเต้นปกติ

      จึงเห็นได้ว่าแคลเซียม มีความจำเป็นและเป็นสิ่งที่ร่างกายขาดไม่ได้ แต่เนื่องจาก ร่างกายจะสร้างแคลเซียมตั้งแต่เด็กจนถึงช่วงอายุประมาณ 30 ปี เท่านั้น หลังจากอายุ 30 ปี จะเริ่มมีการสลายแคลเซียมจากกระดูก ทำให้มวลกระดูกมีความหนาแน่นลดลง เมื่อประสบอุบัติเหตุจึงทำให้กระดูกหักและเปราะได้ง่าย จึงมีการแนะนำให้รับประทานแคลเซียมเพิ่มเมื่ออายุมากขึ้น แต่แคลเซียมที่เรารับประทานเข้าไปร่างกายดูดซึม นำไปใช้ประโยชน์ได้น้อย ด้วยเหตุผลต่อไปนี้

  1. อายุ โดยวัยทารกดูดซึมได้สูงสุด 60 % `และจะลดลง 15 – 20 % ตามวัยที่มากขึ้น
  2. ปริมาณวิตามิน ดี ซึ่งเป็นตัวช่วยในการดูดซึมแคลเซียม
  3. อาหารที่เรารับประทาน เช่นถั่วบางชนิด และ มะเขือเทศเพราะมีกรด Oxalic และกรด Phytic ซึ่งจะมาจับรวมตัวกับแคลเซียมและทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดลง
  4. ปริมาณเกลือ โซเดียมหากมีปริมาณมาก ก็จะยิ่งทำให้ปัสสาวะบ่อยขี้นแล้วส่งผลให้แคลเวียมถูกขจัดออกไปมากขึ้นด้วย
  5. การดื่มกาแฟ ทำให้แคลเซียมถูกขจัดออกไป ประมาณ 2-3 มก ต่อกาแฟ 1 ถ้วย

       บริษัทดีท๊อกซ์ (ประเทศไทย) จำกัดจึงได้ทำการวิจัย และค้นคว้า พบว่าสารดังต่อไปนี้ ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมได้ดียิ่งขึ้น ได้แก่

  1. วิตามินดี
  2. เคซีนฟอสเฟตเป็ปไทด์
  3. วิตามิน เค

      สารสกัดจากถั่วเหลือง เช่น ไอโซฟลาโวน และ ซาโปนิน คุณประโยชน์ ช่วยฟื้นฟูไขข้อเสื่อม โรคกระดูกพรุน ผู้ป่วยรูมาตอยด์ ช่วยให้กระดูกต่อกันง่าย เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ผ่าตัดเกี่ยวกับกระดูก วัยรุ่นและนักกีฬาที่ต้องการเพิ่มส่วนสูงและความแกร่งของกระดูก เครื่องดื่มสมุนไพร

      แฮปปี้ แคล Happy Cal Herbal Drink ส่วนประกอบสำคัญใน 1 ขวด (90 ml) ประกอบด้วย Active Ingredient  ดังนี้

  • แคลเซียมแลคเตท (Calcium Lactrate)
  • แมกนีเซียมซิเตรท (Magnesium Citrate)
  • สารสกัดจากถั่วเหลือง (Soybean Extracted)
  • เคซีน (Casein)
  • วิตามินเค (Vitamin K)
  • วิตามินดี (Vitamin D)
  • วิตามินซี (Vitamin C)

      แฮปปี้ แคล Happy Cal Herbal Drink  จึงเป็นตัวช่วยบรรเทาโรคกระดูก ข้อเสื่อม ลดการเสียดสีระหว่างข้อต่อและกระดูกอ่อนได้อย่างดี  ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บปวดทรมาน และที่สำคัญรสชาติ ดีและอร่อย มากๆค่ะ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้